ระดับการศึกษา : |
- ปวส. - อนุปริญญา
|
รายละเอียดวุฒิ : |
1. เป็นผู้มีคุณวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้
ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม
หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง หรือ
2. เป็นผู้ได้รับคุณวุฒิอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางไฟฟ้ากำลัง หรือทางเทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง และ
3. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับอนุปริญญา หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับที่สูงกว่า
|
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ : |
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) สำรวจ เขียนแบบ ประมาณการ ติดตั้ง ซ่อม ประดิษฐ์ ดัดแปลง ปรับปรุง ควบคุมการใช้งาน ดูแล บำรุงรักษา และใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบอิเล็กทรอนิกส์
ระบบคอมพิวเตอร์ รับส่งข้อมูลข่าวสารในภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
และมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภายในและภายนอก
(2) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผนบำรุงรักษา
(3) ปรับเทียบค่ามาตรฐานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการออกใบรับรองตามที่หน่วยงานหรือกฎหมายกำหนด
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหา ให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(2) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
เพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ
|
ความรู้ที่จำเป็น(วิชาที่สอบ) : |
1. วิชาความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (30 คะแนน)
1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม.เทคโนโลยีสารสนเทศ การปกครอง การบริหารราชการ (10 คะแนน)
1.2 ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ ได้แก่ (30 คะแนน)
(1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
(2) กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(3) กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
(4) กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
(5) กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
(6) กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารทางราชการ
(7) กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ
(8) กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(9) กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
(10และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
(10) กฎหมายเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การคลัง และพัสดุ
(11) กฎหมายว่าด้วยการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
(12) กฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
(13) ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณและสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
1.3 ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) (10 คะแนน)
1.4 วิชาความรู้เกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (10 คะแนน)
2. วิชาความรู้ความเข้าใจในบทบาทภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงมหาดไทย (20 คะแนน)
3. วิชาภาษาอังกฤษเบื้องต้น (1๐ คะแนน)
4. ความรู้และทักษะพื้นฐานในวิชาชีพที่ใช้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายช่างไฟฟ้า
(140 คะแนน)
4.1 ความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
4.2 ความรู้พื้นฐานระบบสื่อสารข้อมูลดิจิทัลและคอมพิวเตอร์
4.3 ความรู้ด้านโทรศัพท์ โทรสาร การสื่อสารข้อมูล การรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร ระบบสื่อสารไมโครเวฟ ระบบสื่อสารดาวเทียม สายอากาศและการสื่อสารทางสายรวมทั้งใยแก้วนำแสง
4.4 ความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบมัลติมีเดีย ระบบเสียง ระบบภาพ ดิจิทัลวิดีโอ วิทยุโทรทัศน์ CCTV และ VIDEO CONFERENCING
4.5 ความรู้ด้านระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ต
4.6 ความรู้เกี่ยวกับระบบควบคุมทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
4.7 ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์คำนวณวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
4.8 ความรู้เกี่ยวกับวิธีบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
4.9 ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตรวจวัดทางไฟฟ้า การตรวจทดสอบและการวัด
|
ทักษะ/สมรรถนะ : |
- |
|
|
|
|
เงื่อนไข : |
ไม่รับโอน |
เปิดรับสมัคร : |
วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ถึง วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 |
ประกาศรับสมัคร : |
 |
เว็บไซต์ : |
http://www.personnel.moi.go.th |
 |